🗻ท่องเที่ยวญี่ปุ่น “บูมไม่หยุด ฉุดไม่อยู่” หุ้นอะไรจะได้ประโยชน์?
✈️ ในปี 2024 ญี่ปุ่นต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 37 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดตั้งแต่มีการบันทึก
✈️ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นในเอเชีย ท่องเที่ยวญี่ปุ่นฟื้นตัวจากช่วง Covid “เร็วที่สุด” ที่ +10% โดย แซงหน้าทั้ง เวียดนาม (+4%), ไทย (-4%), เกาหลีใต้ (-5%), สิงคโปร์ (-14%)
✈️ นักท่องเที่ยวไม่ได้เพิ่มขึ้นเพียงแค่จำนวน คุณภาพก็สูงขึ้นด้วย โดย นักท่องเที่ยวใช้จ่ายรวมกว่า 8.1 ล้านล้านเยน ในปี 2024 เพิ่มขึ้น 16% จากช่วง Covid
✈️ ช่วงตรุษจีน 2025 ญี่ปุ่นกลายเป็น จุดหมายปลายทางอันดับ 1 ของนักท่องเที่ยวจีน “แซงหน้าไทย” เป็นครั้งแรก
✈️ จากข้อมูลของ World Travel & Tourism Council ชี้ว่า การท่องเที่ยวมีส่วนในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจญี่ปุ่นถึง 44.6 ล้านล้านเยน และสร้างงานโดยรวมราว 6 ล้านตำแหน่ง
🔥 กลุ่มหุ้นที่ได้ประโยชน์
🏨 กลุ่มโรงแรมระดับพรีเมียม
(1) Resorttrust (4681 JT)
- ดำเนินธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ทหรู เช่น “XIV” และ “The Kahala Hotel & Resort” ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับบน
- มีโปรแกรมสมาชิกแบบไทม์แชร์ ที่สร้างรายได้ประจำและมีอัตราการต่ออายุสูง
- ขยายกิจการไปยังธุรกิจด้านบริการทางการแพทย์สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น medical check-up แบบพรีเมียม ซึ่งกำลังเติบโต
- ขยายธุรกิจไปยังจุดหมายปลายทางยอดนิยม เช่น เกียวโต โอกินาว่า และโตเกียว
🛍️ กลุ่มห้างสรรพสินค้าและค้าปลีกสินค้าแบรนด์หรู
(1) Takashimaya (8233 JT)
- เป็นห้างสรรพสินค้าระดับพรีเมียมที่มีประวัติยาวนาน โดย สาขาหลักในชินไซบาชิ (โอซาก้า) และนิฮงบาชิ (โตเกียว)
ถือเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมของชาวต่างชาติ - มีบริการรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น พนักงานพูดภาษาจีน-อังกฤษ เคาน์เตอร์คืนภาษี
- รายได้จากกลุ่มสินค้า Luxury และของฝากแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม (Omiyage) เพิ่มขึ้นจากนักท่องเที่ยว
(2) Isetan Mitsukoshi Holdings (3099 JT)
- บริหารห้าง Isetan และ Mitsukoshi ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กของนักท่องเที่ยวในโตเกียว ที่ย่านชินจุกุ-กินซ่า
- มีภาพลักษณ์หรูหรา และมีสินค้าแบรนด์ญี่ปุ่นคุณภาพสูง ซึ่งเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยว
- มีระบบ Tax-free และให้บริการแบบรองรับในหลายภาษา ช่วยเพิ่มยอดขายจากชาวต่างชาติ
- ได้ประโยชน์จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมา โดยเฉพาะกลุ่ม middle-upper class
(3) J.Front Retailing (3086 JT)
- เจ้าของห้าง Daimaru และ Matsuzakaya ซึ่งตั้งอยู่ในย่านการท่องเที่ยว เช่น โตเกียว โอซาก้า
- เชี่ยวชาญในการขายสินค้าแบรนด์หรูและของฝากท้องถิ่นแบบพรีเมียม
- รายได้จากการขายปลอดภาษีเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนหลังเปิดประเทศ
- พัฒนาพื้นที่ห้างให้เป็น mixed-use เช่น Ginza Six ที่ผสมผสานการช้อปปิ้ง ศิลปะ และวัฒนธรรม
🛒 กลุ่มค้าปลีกยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยว ที่เน้นสินค้าราคาประหยัด
(1) Pan Pacific International Holdings (7532 JT)
- เจ้าของเครือ Don Quijote ซึ่งเป็นร้านค้าปลีกยอดนิยมในหมู่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะคนเอเชีย
- มีนโยบายการตลาดที่เน้น “สินค้าราคาถูกและแปลกใหม่” สร้างประสบการณ์เฉพาะตัว
- ได้ประโยชน์โดยตรงจากยอดขายปลอดภาษี ที่เพิ่มขึ้นจากจำนวนนักท่องเที่ยว
- ขยายสาขาอย่างต่อเนื่องทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ โดยเฉพาะในย่านท่องเที่ยวสำคัญ
- มีความสามารถในการบริหารต้นทุนและสต๊อกสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ทำให้รักษา margin ได้ดี
(2) Ryohin Keikaku (7453 JT)
- เจ้าของแบรนด์ MUJI ซึ่งเป็นที่นิยมทั่วโลก โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากเอเชียและยุโรป
- เน้นสินค้าเรียบง่าย มีเอกลักษณ์ และราคาสมเหตุสมผล ทั้งของใช้ ของกิน เสื้อผ้า
- เปิด flagship store ขนาดใหญ่ในย่านท่องเที่ยว เช่น Shinjuku, Ginza ซึ่งรองรับนักท่องเที่ยวได้ดี
- ขยายจุดขายและปรับสินค้าให้เหมาะกับความต้องการของนักท่องเที่ยว เช่น ผลิตภัณฑ์ขนาดพกพา
- ได้อานิสงส์จากยอดขายของฝาก และสินค้าไลฟ์สไตล์ที่นักท่องเที่ยวซื้อกลับบ้าน
🔌 กลุ่มค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าไลฟ์สไตล์
(1) BIC Camera (3048 JT)
- ร้านเครื่องใช้ไฟฟ้าอันดับต้น ๆ ของญี่ปุ่น เป็นจุดหมายที่นักท่องเที่ยวต้องแวะ
- มีสินค้าหลากหลาย ตั้งแต่กล้อง เครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงของฝาก และยา
- มีแผนกเฉพาะสำหรับนักท่องเที่ยว พร้อมบริการหลายภาษา และบริการคืนภาษี
- สาขาใหญ่ตั้งอยู่ในย่านท่องเที่ยว เช่น Shinjuku, Ikebukuro, Kyoto ทำให้เข้าถึงนักท่องเที่ยวได้ตรงกลุ่ม
- ร่วมมือกับบริษัททัวร์ และระบบจองออนไลน์ ช่วยดึงดูดกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีเป้าหมายชัดเจน
(2) Kojima (7513 JT)
- ผู้ค้าปลีกเครื่องใช้ไฟฟ้าในเครือ Bic Camera มีสาขาในเมืองท่องเที่ยว เช่น โตเกียว โอซาก้า
- มีสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็ก ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบ เช่น เครื่องเป่าผม หม้อหุงข้าว
- มีระบบ tax-free และ multilingual service ทำให้ง่ายต่อการจับกลุ่มนักท่องเที่ยว
- ได้ประโยชน์จากยอดซื้อกลับบ้าน และการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติหลัง Covid
- มีโปรแกรมส่งเสริมการขายร่วมกับบัตรเครดิตต่างประเทศ เช่น UnionPay และ Alipay
📌นอกเหนือจากการลงทุนในหุ้นรายตัวที่ได้รับอานิสงส์จากธีมการท่องเที่ยวบูมในญี่ปุ่นแล้ว สำหรับผู้ที่ต้องการ กระจายการลงทุนและรับประโยชน์จากแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในภาพรวม สามารถพิจารณาลงทุนผ่านกองทุน 👉✅ KF-HJAPAND ซึ่งเน้นธุรกิจที่มีศักยภาพการเติบโตสูง (ดู Wealth Strategy 19 ก.พ.)
Disclaimer: ข้อมูลและรายชื่อหุ้นในสื่อนี้จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลเท่านั้น ไม่ถือเป็นคำแนะนำการลงทุน คำชี้นำ หรือการรับประกันผลตอบแทนใด ๆ ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และพิจารณาความเสี่ยงอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
Thanachart Global Investment