Uncategorized

🌎 Global Update ก่อนวันปลดแอก! ทีมทรัมป์เผยข้อมูลเด็ด ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ บอกอะไร? หุ้น Healthcare ร่วง ใครจะยังรอด?

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ได้รับแรงหนุนจากแรงซื้อกลับในหุ้น Growth ที่ underperform มาตลอด 1 เดือน ขณะที่ กลุ่ม Healthcare เผชิญแรงกดดันให้เกิดการขายทำกำไร 📍 Key Events 1. ทำไมเมื่อคืนกลุ่ม Healthcare ถึงเผชิญแรงขายทำกำไร โดยร่วงแรงที่ -1.8% สวนทางตลาดที่ปรับขึ้น I) ความต้องการการรักษาโรคหายาก, มะเร็ง, ยีนบำบัด ยังมีสูง และเป็นเมกะเทรนด์ทั่วโลก II) เทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง CRISPR (คริสเปอร์/การตัดต่อพันธุกรรม), mRNA, Cell Therapy ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการสร้างรายได้จริง III) การลาออกของ ดร. มาร์กส์ ไม่ใช่สัญญาณเปลี่ยนนโยบายโดยตรง ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าการอนุมัติยาใหม่จะถูกยกเลิกหรือล้มเลิกการ fast track IV) บริษัทชั้นนำยังมีความสามารถในการปรับตัว เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ใน pipeline ที่หลากหลาย และมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง IV) แรงกดดันจาก RFK Jr. อาจมีขีดจำกัด […]

Uncategorized

(+) รัฐบาลสั่งลดค่าไฟเหลือ 3.99 บาท/หน่วย เป็น “บวก” ต่อหุ้นกลุ่มไหนบ้าง?

เมื่อวานนี้ครม. มีมติลดค่าไฟงวดเดือนพ.ค. – ส.ค. 25 เหลือ 3.99 บาท/หน่วย แม้จะเป็น “ลบ” ต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP อย่าง BGRIM GPSC แต่จะเป็น “บวก” ต่อ 1) กลุ่มสื่อสารที่ใช้ไฟเยอะ อย่าง ADVANC TRUE และ 2) กลุ่มค้าปลีก อย่าง CPN CPALL

Uncategorized

หุ้น Xiaomi ดิ่งแรง! หลัง Xiaomi SU7 ชนหนัก! กระทบความเชื่อมั่นนักลงทุน

📌เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2568 เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า Xiaomi SU7 ในมณฑลอานฮุย ประเทศจีน รายงานเบื้องต้นระบุว่ารถอยู่ในโหมดช่วยขับขี่อัจฉริยะ (Navigate on Autopilot) ด้วยความเร็ว 116 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก่อนที่ผู้ขับขี่จะเข้าควบคุมและพยายามลดความเร็วลงเหลือ 97 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่สุดท้ายชนเข้ากับเสาปูนซีเมนต์ แม้ว่ารายงานบางฉบับจะระบุว่ามีผู้เสียชีวิต 3 ราย แต่ Xiaomi ยังไม่ได้ยืนยันจำนวนผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการหลังเกิดเหตุ หุ้นของ Xiaomi ในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงปรับตัวลดลงมากกว่า 4% ในวันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568เหตุการณ์นี้คาดว่าจะเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบซอฟต์แวร์ช่วยขับขี่อัจฉริยะที่ใช้ในรถยนต์สมัยใหม่ เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวกำลังเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น

Uncategorized

(-) กลุ่มโรงไฟฟ้า…ครม. มีมติปรับลดค่าไฟรอบเดือนพ.ค. – ส.ค. เหลือ 3.99 บาท/หน่วย

ครม. เห็นชอบปรับลดค่าไฟรอบเดือนพ.ค. – ส.ค. เหลือ 3.99 บาท/หน่วย ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลขในประมาณการของเรา แต่มองเป็น “ลบ” ต่อกลุ่มโรงไฟฟ้า SPP จากที่ก่อนหน้านี้ตลาดคาดว่าจะตรึงค่าไฟที่ 4.15 บาท/หน่วย ตามมติของที่ประชุมกกพ. คงคำแนะนำ “ขาย” BGRIM พื้นฐาน 12.8 บาท และ GPSC พื้นฐาน 26.0 บาท

Uncategorized

🚨 Fund Alert 🔥 ไม่รอแล้วนะ! ทำไมตอนนี้คือเวลาสะสม KF-HJAPAND?

📢เราเพิ่มสัดส่วนกองทุนญี่ปุ่น KF-HJAPAND ในพอร์ตกลยุทธ์ เป็น 7.5% จากเดิม 5% มองการปรับฐานของตลาดหุ้นในช่วงที่ผ่านมา เป็นจังหวะที่น่าสนใจในการสะสมเพิ่ม โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงแนวโน้มในระยะข้างหน้า ซึ่งมี “สัญญาณเชิงบวกต่อภาคการบริโภค” ซึ่งเป็นฟันเฟืองที่สำคัญต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น ดังนี้ 💡 ค่าจ้างปรับตัวสูงขึ้น หลังการเจรจาชุนโต:การเจรจาระหว่างสหภาพแรงงานและนายจ้างในช่วงต้นปี ได้ข้อสรุปที่เป็นบวกอย่างมาก ส่งผลให้ค่าจ้างพื้นฐานของแรงงานปรับเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน การเพิ่มขึ้นของรายได้นี้จะช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายในภาคครัวเรือน โดยเฉพาะในภาวะที่ราคาสินค้ายังอยู่ในระดับสูง 💡 ผลผลิตข้าวที่มีโอกาสฟื้นตัว:ในปี 2024 ญี่ปุ่นเผชิญกับภาวะเอลนีโญ ซึ่งทำให้บางพื้นที่ประสบภัยแล้ง ส่งผลให้คุณภาพและปริมาณข้าวลดลงมาก ขณะที่ ช่วงต้นปี 2025 มีสัญญาณว่าฝนตกมากขึ้น อาจช่วยคลี่คลายแรงกดดันด้านราคาสินค้าอาหาร นอกจากนี้ ภาครัฐก็เริ่มระบายข้าวสำรองฉุกเฉิน ซึ่งจะช่วยเสริมเสถียรภาพด้านอุปทานและลดภาระค่าครองชีพของประชาชน 💡 เงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลง:เริ่มเห็นสัญญาณว่าแรงกดดันด้านราคาสินค้ามีแนวโน้มผ่อนคลายลง โดยเฉพาะในกลุ่มอาหารสด ซึ่งอาจช่วยเพิ่ม “กำลังซื้อที่แท้จริง” ของผู้บริโภค 💡 การฟื้นตัวของภาคบริการและการท่องเที่ยวในประเทศ:จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามายังญี่ปุ่น ฟื้นตัวหลัง Covid “โดดเด่นที่สุดในเอเชีย” ขณะที่ คนญี่ปุ่นเองก็มีแนวโน้มใช้จ่ายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงวันหยุดฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งกระตุ้นกิจกรรมในภาคค้าปลีก ร้านอาหาร และการเดินทางภายในประเทศ 💡 ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง:อัตราว่างงานของญี่ปุ่นอยู่ในระดับต่ำ ช่วยสร้างความมั่นคงและความเชื่อมั่นในอนาคตของผู้บริโภค

Uncategorized

🌎 Global Market Update ตลาด US ฟื้นตัว แต่กลุ่มเทคยังอ่อนแรง! ขณะที่ญี่ปุ่นส่งสัญญาณน่าลงทุน-จีนเปิดบ้าน ดึงบิ๊กธุรกิจ เดินเกมเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุน!

หุ้นสหรัฐฯ พลิกกลับมาฟื้นตัว โดยกลุ่มสินค้าจำเป็น-การเงิน นำขึ้นฝั่ง ขณะที่ เทคโนโลยียังรั้งท้าย 📍 Key Events 1. ตัวเลขเศรษฐกิจญี่ปุ่น 1.1 ภาคการผลิต 1.2 ตลาดแรงงาน 1.3 ยอดค้าปลีก 🔥 – แนวโน้มการบริโภคช่วงครึ่งหลังของปี มีปัจจัยสนับสนุนซึ่งอาจช่วยพยุงกำลังซื้อของภาคครัวเรือน ดังนี้ I) ค่าจ้างที่ปรับตัวสูงขึ้น: หลังการเจรจาระหว่างสหภาพแรงงานและนายจ้างในช่วงต้นปี ซึ่งได้ข้อสรุปที่เป็นบวกอย่างมากส่งผลให้ค่าจ้างพื้นฐานของแรงงานปรับเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน การเพิ่มขึ้นของรายได้นี้จะช่วยสนับสนุนการใช้จ่ายในภาคครัวเรือน โดยเฉพาะในภาวะที่ราคาสินค้ายังอยู่ในระดับสูง II) ผลผลิตการเกษตรทยอยเข้าสู่ตลาด: ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ญี่ปุ่นจะเข้าสู่ฤดูเก็บเกี่ยวข้าว ซึ่งถือเป็นพืชอาหารหลักของประเทศ เมื่อผลผลิตใหม่ทยอยเข้าสู่ระบบ จะช่วยคลี่คลายแรงกดดันด้านราคาสินค้าอาหาร นอกจากนี้ การระบายข้าวสำรองฉุกเฉินของภาครัฐก็จะช่วยเสริมเสถียรภาพด้านอุปทานและลดภาระค่าครองชีพของประชาชนได้ในระดับหนึ่ง III) เงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลง: แม้อัตราเงินเฟ้อจะยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด แต่มีสัญญาณว่าแรงกดดันด้านราคาสินค้าเริ่มผ่อนคลายลง โดยเฉพาะในกลุ่มพลังงานและอาหารสด ซึ่งอาจช่วยเพิ่ม “กำลังซื้อที่แท้จริง” ของผู้บริโภค IV) การฟื้นตัวของภาคบริการและการท่องเที่ยวในประเทศ: จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่คนญี่ปุ่นเองก็มีแนวโน้มใช้จ่ายในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงวันหยุดฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งกระตุ้นกิจกรรมในภาคค้าปลีก ร้านอาหาร และการเดินทางภายในประเทศ V) ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง: […]

Uncategorized

(+) PMI Caixin ภาคการผลิตจีน เดือนมี.ค. ดีกว่าตลาดคาด

จีนรายงานตัวเลข PMI Caixin ภาคผลิตเดือน มี.ค. อยู่ที่ 51.2 สูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 24 ซึ่งดีกว่าตลาดคาดที่ 51.1 และเดือนก่อนหน้าที่ 50.8 โดยเริ่มเห็นสัญญาณบวกจากยอดคำสั่งซื้อใหม่ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีเสถียรภาพ ท่ามกลางความต้องการที่ปรับตัวดีขึ้น มองเป็น “บวก” ต่อเศรษฐกิจจีนที่ค่อยๆฟื้นตัว

Uncategorized

(+) กลุ่มพลังงาน…ทรัมป์ขู่เก็บภาษีกับประเทศที่ซื้อน้ำมันกับรัสเซีย หนุน Brent +1.5%

ทรัมป์ขู่เก็บภาษี 25-50% กับประเทศที่ซื้อน้ำมันรัสเซีย หากรัสเซียไม่ยุติสงครามในยูเครน ส่งผลให้ตลาดกังวล supply ตึงตัว หนุนราคาน้ำมันดิบ Brent +1.5% เมื่อคืนนี้ ปิดที่ 74.74 USD/bbl แนะนำ “เก็งกำไร” กลุ่มพลังงาน อย่าง PTTEP (TradeCode แนะนำวันนี้) PTT

Uncategorized

(-) ธปท. สรุปภาพรวมเศรษฐกิจเดือน ก.พ. ชะลอตัวทั้งภาคท่องเที่ยวและการลงทุน

มองเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้ช้า เผชิญกับปัญหาเชิงโครงสร้าง และปัจจัยภาคนอก เช่น ความเสี่ยงของนโยบายทรัมป์ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกรวมถึงไทย นอกจากนี้ยังได้รับแรงกดดันจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แม้จะไม่อาจกระทบต่อเศรษฐกิจไม่มาก แต่ก็เป็นปัจจัยกดดันต่อสถานการณ์การลงทุนและความเชื่อมั่น เน้น “Selective” กลุ่ม Defensive play ปันผลสูง อย่าง ADVANC 3BBIF DIF และ “เก็งกำไร” กลุ่มค้าปลีกสินค้าซ่อมแซมบ้าน-วัสดุซ่อมแซม อย่าง HMPRO TOA ที่ได้ผลบวกจากความต้องการซ่อมแซมมากขึ้นหลังแผ่นดินไหว