Company Equity 22 May 2024, 12:09

DIF (HOLD) – น่าสนใจน้อยลง –Target Price Bt8.50, Price Bt8.20


เราปรับลดคำแนะนำ DIF เป็น “ถือ” โดยคาดจะจ่ายเงินปันผลได้น้อยลงหลังรายได้ค่าเช่าลดลงจากที่ผู้เช่ารายย่อยลดปริมาณเช่า และต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่สูงขึ้น เรามองความเสี่ยงจากคู่สัญญาสูงขึ้นในแง่โอกาสการขอเจรจาสัญญาจาก TRUE เราปรับราคาเป้าหมายลงเหลือ 8.5 บาท

ปรับลดคำแนะนำเป็น “ถือ”

เราปรับลดคำแนะนำ DIF เป็น “ถือ” (จาก ซื้อ) ด้วยเหตุผลสามประการ 1) เราคาดว่ารายได้ค่าเช่าของ DIF ลดลง 1.4 หมื่นลบ. ในปี 2024F หดตัว 4% จาก 1.44 หมื่นลบ. ในปี 2022 เนื่องจากผู้เช่ารายเล็ก (บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด, DTAC) ทยอยยกเลิกสัญญาเช่าหลังการควบรวมธุรกิจ 2) เราคาดว่าต้นทุนทางการเงินของ DIF จะขึ้นไปแตะจุดสูงสุดที่ 6.1% ในปี 2025F (จาก 4.1% ในปี 2022) ตามอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา 3) จากรายได้ที่ลดลง และต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น เราคาดเงินปันผลจาก DIF ลดลงเหลือ 0.93 บาท/หน่วย ในช่วงปี 2024-26F (จาก 1.04 บาท/หน่วย ในปี 2020-22) ราคาเป้าหมาย DDM ของเราจึงลดลงเหลือ 8.5 บาท (จาก 11 บาท) หลังปรับประมาณการเงินปันผลลง และปรับมาใช้ปีฐาน 2024F

สูญเสียผู้เช่ารายย่อย

เราคาดรายได้ค่าเช่าของ DIF ลดลง 2% ในปี 2023F และอีก 1% ในปี 2024F เนื่องจากปริมาณเช่าที่ลดลงจาก DTAC แต่รายได้ของ DIF จะกลับมาทรงตัวอีกครั้งเนื่องจากสัญญาเช่าที่เหลือ มีเงื่อนไขปริมาณการเช่าคงที่ บนราคาค่าเช่าที่ปรับตามอัตราเงินเฟ้อ กับผู้เช่ารายใหญ่ คือ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น  (TRUE, ซื้อ) จนถึงปี 2033F เราคาดการจ่ายเงินปันผลของ DIF จะลดลงเหลือเฉลี่ย 0.95 บาท/หน่วย ในช่วงปี 2024-33F จากฐานรายได้ที่ลดลงนี้ และคาดเงินปันผลลดลงอีกครั้งเหลือ 0.77 บาท ในปี 2034-43F หลังจากสัญญาเช่าหลักหมดอายุในปี 2033F เนื่องจากเราใช้สมมติฐานว่ามีเพียง 6 จากทั้งหมด 9 สัญญาที่จะถูกต่ออายุไปอีกสิบปี

มีกรณีตัวอย่างในตลาด

เรามองว่าความเสี่ยงด้านคู่สัญญาของ DIF สูงขึ้น เนื่องจาก TRUE ยังคงประสบปัญหาจากผลกระทบของอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นต่อเนื่อง โดยมีกรณีตัวอย่างที่เป็นไปในเชิงลบก่อนหน้านี้ในตลาด คือการที่ ทริปเปิลที บรอดแบนด์ (TTTBB) สามารถเจรจาลดค่าเช่าลงได้ จากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานบรอดแบนด์  อินเทอร์เน็ต จัสมิน (JASIF, “ซื้อ”) เนื่องจากกระแสเงินสดของบริษัทอ่อนแอลงในช่วงหลัง แม้ยังไม่มีสัญญาณการขอเจรจาจาก TRUE และเราเชื่อว่าหากเกิดจริงก็จะมีการชดเชยในรูปแบบอื่นเพื่อรักษามูลค่าสัญญาโดยรวม แต่เรามองเรื่องนี้เป็นความเสี่ยงสำหรับ DIF

เปลี่ยนไปเล่น JASIF

ปัจจุบันเราชอบ JASIF มากกว่า DIF เนื่องจาก 1) เรามองว่า IRR สำหรับการลงทุนใน JASIF จนหมดอายุสัญญานั้นน่าสนใจกว่าที่ 7.7% สำหรับระยะเวลาการถือครอง 15 ปี เทียบกับของ DIF ที่ 8.5% IRR บนการถือครอง 20 ปี 2) เรามองว่า JASIF มีความเสี่ยงด้านคู่สัญญาที่ต่ำลงมากหลังเปลี่ยนผู้เช่ารายใหญ่มาเป็น บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC, “ซื้อ”)  ที่มีสถานะทางการเงินแข็งแกร่ง และความสามารถการทำกำไรสูง และ 3) JASIF มีการแก้ไขสัญญาไปแล้วก่อน ADVANC เข้าซื้อกิจการ

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน……

รายงานฉบับภาษาไทย Thai Version

รายงานฉบับภาษาอังกฤษ English Version