Equity Industries 26 June 2025, 23:34

Telecom Sector  (Overweight) – ผลการประมูลออกมาเป็นบวกตามที่คาดไว้


  • การประมูลคลื่นความถี่เป็นไปอย่างราบรื่นตามความคาดหมาย
  • ADVANC ได้คลื่น 2100MHz ในราคาขั้นต่ำ
  • TRUE ชนะประมูลคลื่น 2300MHz พร้อมได้ใบอนุญาต 1500MHz บางส่วน
  • เรายังคงมุมมอง เชิงบวกต่อกลุ่มโทรคมนาคมไทย

News Update

  • การประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 4 ย่าน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2025 สิ้นสุดลงภายในเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง โดยมีการแข่งขันที่จำกัด ผู้ให้บริการทั้ง ADVANC และ TRUE สามารถประมูลใบอนุญาตได้สำเร็จเพื่อให้สามารถใช้งานคลื่นความถี่เดิมต่อไป หลังจากสัญญาเช่าปัจจุบันจะหมดอายุในเดือนสิงหาคมนี้ เนื่องจากต้นทุนตัดจำหน่ายสุดท้ายของใบอนุญาตฉบับใหม่นั้น ต่ำกว่าค่าเช่าคลื่นความถี่เดิมอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ทั้งสองบริษัทจะได้รับประโยชน์จากการประหยัดต้นทุนด้านคลื่นความถี่ เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป
  • สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลอุตสาหกรรมโทรคมนาคมของไทย ได้จัดการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 4 ชุด เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน 2025 โดยมีทั้ง ADVANC และ TRUE เข้าร่วมการประมูล
  • การประมูลสิ้นสุดลงภายในเวลาเพียงหนึ่งชั่วโมง โดยมีการยื่นประมูลเพียง สองรอบ แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งสองรายในระดับต่ำ ซึ่งเป็นไปตามที่เราคาดการณ์ไว้ ส่งผลให้ผลการประมูลออกมาเป็นผลดีต่อทั้งสองบริษัท ในแง่ของ ต้นทุนคลื่นความถี่ที่ลดลง เราสรุปผลการประมูลไว้ดังนี้:
  • ADVANC ชนะการประมูลใบอนุญาตจำนวน 3 ชุด สำหรับคลื่นความถี่ 2100MHz รวมแบนด์วิธ 15MHz เพื่อทดแทนสัญญาเช่าคลื่นเดิมที่กำลังจะหมดอายุในเดือนสิงหาคมนี้  ราคาสุดท้ายของใบอนุญาตคลื่น 2100MHz อยู่ที่ราคาขั้นต่ำ 1.48 หมื่นลบ. สอดคล้องกับที่เราคาดการณ์ไว้ว่า TRUE จะไม่เข้าร่วมแข่งขันในย่านคลื่นความถี่นี้
  • TRUE ก็สามารถประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 2300MHz ซึ่งเป็นย่านคลื่นยุทธศาสตร์ของบริษัทได้สำเร็จ โดยชนะการประมูลจำนวน 7 ใบอนุญาต รวมแบนด์วิธ 70MHz ด้วยมูลค่ารวม 2.2 หมื่นลบ. ซึ่งต่ำกว่าสมมติฐานเดิมของเราที่คาดว่า TRUE จะได้ 6 ใบอนุญาต ที่มูลค่า 3.0 หมื่นลบ. อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ TRUE ยังชนะการประมูลคลื่น 1500MHz จำนวน 4 ใบอนุญาต (รวมแบนด์วิธ 20MHz) ด้วยมูลค่า 4.7 พันลบ. เหนือความคาดหมายของเราเล็กน้อย เนื่องจากเราคาดว่าจะไม่มีผู้เข้าร่วมประมูลในย่านความถี่นี้ ต้นทุนการลงทุนรวมของ TRUE สำหรับใบอนุญาตคลื่นจากการประมูลครั้งนี้ ยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่เรานำมาประเมินในการคาดการณ์กำไร แต่ TRUE สามารถได้ใบอนุญาตจำนวนมากกว่าที่เราคาดการณ์ไว้
  • ไม่มีการประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่ 850MHz จากทั้งสองผู้ให้บริการ ตามที่ได้คาดการณ์ไว้
  • จากผลการประมูล เราประเมินว่า ADVANC จะสามารถลดต้นทุนคลื่นความถี่ได้ประมาณ 2.9 พันลบ. โดยลดลงจากค่าเช่าปัจจุบัน 3.9 พันลบ./ปี เหลือเพียง ค่าใช้จ่ายตัดจำหน่าย (amortization) 1.0 พันลบ./ปี สำหรับใบอนุญาตคลื่น 2100MHz ซึ่งสอดคล้องกับประมาณการของเรา ในส่วนของ TRUE เราคาดว่าต้นทุนคลื่นความถี่จะลดลงประมาณ 6.0 พันลบ. โดยต้นทุนเช่าปัจจุบันที่ 7.8 พันลบ. (แบ่งเป็น 2.7 พันลบ. สำหรับคลื่น 850MHz และ 5.1 พันลบ. สำหรับคลื่น 2300MHz) จะลดลงเหลือ ค่าใช้จ่ายตัดจำหน่ายรวม 1.8 พันลบ./ปี (แบ่งเป็น 0.3 พันลบ. สำหรับคลื่น 1500MHz และ 1.5 พันลบ. สำหรับคลื่น 2300MHz) ซึ่งมี upside เล็กน้อยเมื่อเทียบกับประมาณการเดิมของเรา ทั้งนี้โครงสร้างต้นทุนแบบใหม่นี้ของทั้ง ADVANC และ TRUE จะเริ่มมีผลตั้งแต่เดือน สิงหาคม เป็นต้นไป
  • จากผลการประมูลที่ออกมาเป็นบวก โดยเฉพาะในแง่ของต้นทุนคลื่นความถี่ที่ลดลงสำหรับทั้งสองผู้ให้บริการ และการประมูลเป็นไปอย่างราบรื่นซึ่งสะท้อนถึงความตั้งใจในการหลีกเลี่ยงการแข่งขันด้านราคาระหว่างทั้งสองค่าย ตามมุมมองของเรา เราจึงยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมไทย จากแนวโน้มการฟื้นตัวของราคาค่าบริการที่ต่อเนื่องโดยการประหยัดต้นทุนเพิ่มเติมจากคลื่นความถี่ครั้งนี้จะช่วยหนุนการเติบโตของกำไรได้อีก  ในเชิงการลงทุน เราชอบ ADVANC มากกว่า เนื่องจากมีแนวโน้มรายได้ที่แข็งแกร่งกว่า ซึ่งน่าจะช่วยรักษาการเติบโตของกำไรในระยะยาวได้ดีกว่า แม้ว่าในระยะสั้น TRUE จะมีการประหยัดต้นทุนมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญก็ตาม

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน……

รายงานฉบับภาษาไทย Thai Version

รายงานฉบับภาษาอังกฤษ English Version