Equity Industries 3 July 2025, 23:49

Bank Sector (Neutral) – ระยะที่ 2 ยังไม่น่าจะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ


  • การขยายระยะเวลาและขอบเขตของโครงการบรรเทาหนี้
  • ยังคงมีข้อจำกัดด้านการปล่อยสินเชื่อใหม่ ทำให้ไม่น่าจะมีการเข้าร่วมเต็มจำนวน
  • เป็นผลบวกต่อการปกป้องงบดุลมากกว่าการเติบโตของสินเชื่อ
  • เรายังคงชอบ KTB และ SCB มากกว่า

News Update

  • กระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ (NESDC) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมกับธนาคารพาณิชย์และผู้ให้บริการสินเชื่อที่ไม่ใช่ธนาคารบางราย ได้ขยายและต่ออายุโครงการช่วยเหลือลูกหนี้ “คุณสู้ เราช่วย” ระยะที่ 2
  • ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2025 มีลูกหนี้ลงทะเบียนแล้วมากกว่า 1.4 ล้านราย ครอบคลุมบัญชีเงินกู้รวม 1.9 ล้านบัญชี โดยในจำนวนนี้มีลูกหนี้ประมาณ 630,000 ราย (คิดเป็น 32%) ที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ ซึ่งคิดเป็นหนี้ที่เข้าเกณฑ์ประมาณ 4.6 แสนลบ. หรือประมาณ 52% ของหนี้ที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 8.9 แสนลบ. เนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่ยังคงดำเนินอยู่ หน่วยงานจึงได้ขยายระยะเวลาการลงทะเบียนจากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน ไปเป็นวันที่ 30 กันยายน 2025 พร้อมทั้งเพิ่มมาตรการช่วยเหลือเพิ่มเติม
  • โครงการระยะที่ 2 ยังคงมุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกหนี้ที่เปราะบางในกลุ่มเดิมเช่นเดียวกับระยะที่ 1 ได้แก่ สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อธุรกิจ SMEs และสินเชื่อไม่มีหลักประกัน โดยต้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 1 มกราคม 2024 และผ่านเกณฑ์คุณสมบัติตามสถานะการผิดนัดชำระ ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2024 เช่นเดียวกับระยะที่ 1 ลูกหนี้ที่มีสิทธิ์เข้าร่วมต้องมีประวัติอยู่ในฐานข้อมูลของเครดิตบูโร (NCB) และจะไม่สามารถกู้ยืมสินเชื่อเพื่อการบริโภคใหม่ได้เป็นระยะเวลา 12 เดือน
  • โครงการ “คุณสู้ เราช่วย” ระยะที่ 2 ได้ปรับปรุงเงื่อนไขของมาตรการเดิม และมีมาตรการใหม่เพิ่มเติม ดังนี้
  • มาตรการ “จ่ายตรง คงทรัพย์” ได้ขยายขอบเขตให้ครอบคลุมถึงลูกหนี้ที่ค้างชำระเกิน 365 วัน และลูกหนี้ที่ค้างชำระแม้เพียง 1 วัน หากเคยผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2022 เป็นต้นมา โดยโครงสร้างการชำระหนี้ยังคงเดิม — ลูกหนี้จะชำระเงินต้นรายเดือนในอัตรา 50%, 70% และ 90% ตามลำดับในระยะเวลา 3 ปี โดยจะได้รับการยกเว้นดอกเบี้ยทั้งหมดหากปฏิบัติตามเงื่อนไขครบถ้วน
  • มาตรการ “จ่าย ปิด จบ” ขยายเพดานภาระหนี้ของลูกหนี้บุคคลธรรมดาที่เป็นหนี้เสีย (สถานะ NPL)โดยให้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท สำหรับสินเชื่อไม่มีหลักประกัน และไม่เกิน 30,000 บาทสำหรับสินเชื่อที่มีหลักประกันซึ่งถูกยึดทรัพย์ไปแล้ว
  • มาตรการใหม่ “จ่าย ตัด ต้น” เปิดโอกาสให้ลูกหนี้ NPL ที่ไม่มีหลักประกันและมีหนี้ไม่เกิน 50,000 บาท สามารถชำระเงินต้นเพียง 2% ต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 ปี โดยจะได้รับการยกเว้นดอกเบี้ยทั้งหมดหากปฏิบัติตามเงื่อนไขอย่างต่อเนื่อง
  • ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่าโครงการระยะที่ 2 จะสามารถขยายความครอบคลุมไปยังลูกหนี้เพิ่มเติมอีก 1.8 ล้านราย ครอบคลุม 2.0 ล้านบัญชี และหนี้รวมประมาณ 3.1 แสนลบ. เมื่อรวมกับระยะที่ 1 โครงการจะครอบคลุมลูกหนี้ทั้งหมด 3.7 ล้านราย 4.1 ล้านบัญชี และหนี้ที่เข้าเกณฑ์รวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านลบ. คิดเป็นประมาณ 6% ของสินเชื่อทั้งหมดในระบบธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs)
  • จากวงเงินสินเชื่อที่เข้าเกณฑ์ในระยะที่ 1 จำนวน 8.9 แสนลบ. เป็นของธนาคารพาณิชย์ประมาณ 4.0 แสนลบ. หรือคิดเป็น 45% โดยธปท.ระบุว่าการเข้าร่วมโครงการในระยะที่ 1 มีสัดส่วนใกล้เคียงกันระหว่างธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) โดยกลุ่มลูกหนี้สินเชื่อที่อยู่อาศัยมีการเข้าร่วมมากกว่ากลุ่มสินเชื่อรถยนต์
  • แม้ธปท.จะยังไม่เปิดเผยสัดส่วนการเข้าร่วมของธนาคารพาณิชย์ และ SFIs ในระยะที่ 2 แต่คาดว่าจำนวนลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์เพิ่มเติมในทั้งสามแผนอยู่ที่ประมาณ 830,000 ราย สำหรับแผนที่ 1, 360,000 ราย สำหรับแผนที่ 2 และ 620,000 ราย สำหรับแผนที่ 3
  • มุมมองของเรา:
  • หนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้การเข้าร่วมโครงการระยะที่ 1 อยู่ในระดับต่ำ คือ ข้อจำกัดในการกู้ยืมเงินใหม่ ซึ่งยังคงมีอยู่ในระยะที่ 2 เช่นกัน ข้อจำกัดนี้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับลูกหนี้ที่พึ่งพาวงเงินสินเชื่อหมุนเวียน ดังนั้นเราจึงไม่คาดว่าจะมีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของผู้เข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญในระยะที่ 2
  • อย่างไรก็ตาม แม้ในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมโครงการครบทั้งหมด รายได้จากดอกเบี้ยที่ธนาคารจะสูญเสียไป (หลังจากหักเงินคืนจากกองทุน FIDF) คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 3.7 หมื่นลบ. ต่อปี ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ระบบสถาบันการเงินโดยรวมสามารถรับมือได้
  • ที่สำคัญคือ โครงการนี้ช่วยให้ธนาคารสามารถป้องกันการเกิดหนี้เสีย (NPL) แต่เนิ่นๆ และจัดการกับหนี้เสียเดิมได้บางส่วน โดยได้รับการสนับสนุนจากกองทุน FIDF  แรงกดดันต่อผลตอบแทนจากมาตรการเหล่านี้ได้รับการชดเชยบางส่วนจากการคืนค่าธรรมเนียม FIDF และ credit costs ที่ลดลง ขณะเดียวกัน การชะลอการยึดทรัพย์ส่งผลให้มีรถยนต์มือสองเข้าสู่ตลาดน้อยลง ซึ่งช่วยสนับสนุนให้ราคาของรถยนต์มือสองฟื้นตัวขึ้น
  • แม้ว่าโครงการนี้จะช่วยบรรเทาความเสี่ยงในงบดุลที่เพิ่มขึ้นท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจมหภาคที่อ่อนแอลง แต่เรายังคงมองว่าโครงการนี้เป็นเครื่องมือเชิงป้องกัน มากกว่าที่จะเป็นแรงขับเคลื่อนการเติบโตของสินเชื่อใหม่
  • จากแนวโน้มการเข้าร่วมในระยะที่ 1 พบว่า TTB, KKP, TISCO และ SCB มีการมีส่วนร่วมของลูกหนี้ในระดับสูง ขณะที่ KBANK, KTB และ BBL มีอัตราการเข้าร่วมต่ำกว่า

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ใน……

รายงานฉบับภาษาไทย Thai Version

รายงานฉบับภาษาอังกฤษ English Version